ทำความรู้จักโรคยอดฮิตที่มากับหน้าร้อนและวิธีดูแลตัวเอง

ทำความรู้จักโรคยอดฮิตที่มากับหน้าร้อนและวิธีดูแลตัวเอง

ทำความรู้จักกับโรคยอดฮิตที่มากับหน้าร้อน พร้อมวิธีดูแลตัวเองง่ายๆ เมืองไทยเป็นเมืองร้อน แม้ในช่วงอื่นๆ ที่ไม่ใช้หน้าร้อน ในเวลากลางวันก็มีอุณหภูมิสูงจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การรู้สึกไม่สบายตัว อ่อนเพลีย และอุณหภูมิร่างกายสูง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนที่อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การรู้จักโรคที่พบบ่อยในหน้าร้อนและวิธีป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ตัวเราไกลจากอาการเจ็บป่วยและมีสุขภาพที่ดี

โรคยอดฮิตที่มากับฤดูร้อน 

    1. อาหารเป็นพิษ อากาศอุ่น อากาศร้อนมักทำให้จุลินทรีย์ เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี การรับประทานอาหารไม่สะอาด ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาหารที่ปรุงไว้นานแล้ว และไม่ได้รับการอุ่นอย่างถูกวิธี ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ท้องเสีย ปวดท้อง อาเจียน เป็นต้น
    2. อุจจาระร่วง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต ซึ่งมักเกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อน มีอาการถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน อาเจียน มีไข้ หากมีอาการมากจะทำให้อ่อนเพลียและนำไปสู่ภาวะร่างกายขาดน้ำได้
    3. โรคลมแดด ฮีตสโตรก เกิดจากร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไปจนร่างกายปรับตัวไม่ได้ ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการที่พบบ่อย ได้แก่ เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน ชีพจรเต้นเร็ว หายใจเร็ว และอาจอาการชักหรือหมดสติได้
    4. โรคตาแดง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย อาจรับเชื้อผ่านสารคัดหลั่งของผู้ป่วยตาแดง เช่น น้ำตา ขี้ตา เมื่อตาติดเชื้อสังเกตได้จากเยื่อตามีสีแดง ปวดตา คันตา มีขี้ตา มีน้ำตาไหล
    5. โรคผิวหนัง จากที่กล่าวมาในข้อแรก อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค และอากาศร้อนและความชื้นสูเอง ก็ยังทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง โรคผิวหนังที่มักพบในช่วงนี้ ได้แก่ ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ หรือเชื้อราบนผิวหนัง อาจมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่นความสะอาดของเสื้อผ้าที่สวมใส่ และสุขอนามัยส่วนตัว อาการที่พบได้บ่อยคือ ผิวหนังแดง คัน มีขุย และลอก

วิธีดูแลตัวเอง ป้องกันโรคที่มากับอากาศร้อน

  1. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ การดื่มน้ำอย่างน้อยเฉลี่ย 8 แก้วต่อวัน (หากต้องการคำนวณแบบละเอียดให้ใช้น้ำหนักตัว(กิโลกรัม) คูณ 2.2 คูณ 30 หาร 2 จะได้ปริมาณน้ำเป็นหน่วยมิลลิลิตร ที่ควรบริโภค) ช่วยให้ร่างกายได้รับน้ำที่เพียงพอ ผิวหนังชุ่มชื้นไม่ขาดน้ำ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดดได้

  2. รับประทานอาหารที่สะอาด สดใหม่ และปรุงสุก แนะนำให้ล้างวัตถุดิบอย่างเนื้อสัตว์ หรือผัก ผลไม้ ที่นำมาปรุงอาหารก่อนนำมาบริโภค หลีกเลี่ยงอาหารดิบหรือสุกๆ ดิบๆ เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ไม่ค้างคืน

  3. สวมใส่เสื้อผ้าที่เบาและระบายอากาศได้ดี: การเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายธรรมชาติ หรือผ้าลินิน จะช่วยระบายความร้อนและเหงื่อได้ดีกว่า ทำให้ผู้สวมใส่รู้สึกเย็นสบาย หลีกเลี่ยงการใส่ผ้าใยสังเคราะห์ ที่น้ำซึมผ่านได้ช้า เพราะระบายความร้อนจากร่างกายได้ไม่ดี

  4. หลีกเลี่ยงการออกแดดจัด: ในช่วงเวลาที่แดดแรง ควรหลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก ควรสวมหมวก แว่นกันแดด เสื้อคลุม เพื่อไม่ให้แสงแดดปะทะตัวเราโดยตรง อาจทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ที่เพียงพอ ด้วยก็ได้

  5. ทำความสะอาดร่างกายให้สะอาด: การล้างมือและการอาบน้ำเป็นประจำ ช่วยลดการสะสมของเชื้อโรคและป้องกันการเกิดโรคผิวหนัง การล้างมือเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ง่ายและควรฝึกให้เป็นนิสัย

  6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อับชื้น: ที่อับชื้นมักมีเชื้อโรคลอยอยู่ในอากาศ อีกทั้งร่างกายยังเสี่ยงต่อการมีอุณหภูมิสูงด้วย เพราะมักไม่มีลมพัดความร้อนให้กระจายออกไปพื้นที่อื่น หากทำได้ควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทสะดวก

  7. พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนอย่างเพียงพอนั้นมีความสำคัญมาก ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และมีภูมิคุ้มกันเพื่อให้สามารถต่อสู้กับโรคต่างๆ ได้

 

การเจ็บป่วยเป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้พลาดการโอกาสสำคัญต่างๆ และพลาดการมีประสบการณ์ใหม่ด้วย หากต้องหยุดพักรักษาตัวเป็นเวลานาน ดังนั้นการดูแลตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ช่วยให้เราสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น ไม่มีข้อจำกัดด้านสุขภาพ ในขณะเดียวกันหากมีข้อจำกัดด้านเงินทุน จะทำอย่างไรได้บ้าง? สบาย ลีสซิ่ง มีบริการสินเชื่อโฉนดที่ดิน สามารถเข้ามาปรึกษาพูดคุยได้ทุกที่สบาย ลีสซิ่ง ทุกสาขา สอบถามที่โทร 055-000-600 หรือติดต่อทาง LINE Official @sabuyleasing เพราะทุกความสบายใจเป็นไปได้ ที่ สบาย ลีสซิ่ง