เปลี่ยนที่ดินเปล่า มาเป็นที่ดินเกษตรกรรม เพื่อประโยชน์ทางด้านภาษี

เปลี่ยนที่ดินเปล่า มาเป็นที่ดินเกษตรกรรม เพื่อประโยชน์ทางด้านภาษี

คงมีคำถามว่าทำไมที่ดินเปล่าแต่เดิม มาในช่วงหลังเจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครองจึงได้หันมาปลูกพืชหรือนำต้นไม้มาลงในพื้นที่ของตัวเองจนเต็มพื้นที่ เปลี่ยนที่ดินว่างๆ ไม่มีอะไร มาเป็นแปลงเกษตร ปลูกไม้ยืนต้น ทำสวนผลไม้ เจ้าของที่ดินทำแบบนั้นเพื่อให้จ่ายภาษีลดลงหรือเปล่า ลองมาดูรายละเอียดทีละหัวข้อ

ภาษีที่ดินและสิงปลูกสร้าง มีกี่แบบ อะไรบ้าง?

การเป็นเจ้าของที่ดิน หรือครอบครองเพื่อทำประโยชน์แน่นอนว่าต้องมีภาระภาษีและมีหน้าที่ต้องชำระให้แก่หน่วยงานของรัฐตามกำหนด ถือเป็นหน้าที่ที่พึงกระทำ โดยการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (จะขอเรียกสั้นๆ ว่าภาษีที่ดิน) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท โดยดูจากการใช้ประโยชน์บนที่ดินผืนนั้นๆ ดังนี้ 

    1. ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม เช่น มีการประกอบเกษตรกรรม ได้แก่ การทำไร่ ทำนา ทำส่วน เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น มีอัตราภาษี 0.01 ถึง 0.1%
    2. ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย คือมีสิ่งปลูกสร้างที่ตัวเจ้าของใช้อาศัย มีอัตราภาษี 0.02 ถึง 0.1%
    3. ที่เดินเพื่อการพาณิชยกรรม หมายถึง มีสิ่งปลูกสร้างเพื่อการพาณิชย์ เช่น โรงงาน โรงแรม ร้านอาหาร gxHo9ho มีอัตราภาษี 0.3 ถึง 0.7%
    4. ที่ดินว่างเปล่า ไม่มีการทำประโยชน์ มีอัตราภาษี 0.3 ถึง 0.7% และเพิ่มอัตราอีก 0.3% ทุก 3 ปี

การเจ็บป่วยเป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้พลาดการโอกาสสำคัญต่างๆ และพลาดการมีประสบการณ์ใหม่ด้วย หากต้องหยุดพักรักษาตัวเป็นเวลานาน ดังนั้นการดูแลตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ

เจ้าของที่ดินเปล่า ต้องปลูกพืชชนิดใดบ้าง และปลูกขั้นต่ำเท่าไร?

จากประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม (ฉบับที่ 2) ได้กำหนดรายละเอียดตาม บัญชีแนบท้าย ก ถึงชนิดของพืชจำนวน 57 ชนิด และอัตราขั้นต่ำของการประกอบการเกษตรต่อไร่ ซึ่งจะยกตัวอย่าง 10 ชนิด ได้แก่
 
พืช
จำนวนขั้นต่ำต่อไร่
กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า
200 ต้น
ขนุน
25 ต้น
ยางพารา
80 ต้น
ทุเรียน
20 ต้น
ฝรั่ง
45 ต้น
มะม่วง
20 ต้น
ปาล์มน้ำมัน
22 ต้น
มะนาว
20 ต้น
มะขามหวาน มะขามเปรี้ยว
25 ต้น
ยูคาลิปตัส
35 ต้น

หากสนใจตรวจสอบรายชื่อพืชทั้งหมดและอัตราขั้นต่ำในการปลูกต่อไร่ โปรดอ่านประกาศเพิ่มเติม: ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม (ฉบับที่ 2)

จะเห็นว่าเมื่อเปลี่ยนที่ดินรกร้างว่างเปล่าให้เป็นที่ดินที่มีการเพาะปลูกที่เข้าเงื่อนไขตามระเบียบกำหนดแล้ว เจ้าของที่ดินสามารถลดภาระภาษีที่ดินลงไปได้มาก สามารถใช้ประโยชน์จากผลผลิตเพื่อการบริโภคและขายต่อได้ และยังต่อยอดพัฒนาที่ดินเพื่อเพิ่มมูลค่า ต่อไปได้ด้วย หากมีที่ดินแปลงสวย สามารถเข้ามาปรึกษาสินเชื่อโฉนดที่ดิน ที่สบาย ลีสซิ่ง ทุกสาขา สอบถามที่โทร 055-000-600 หรือติดต่อทาง LINE Official @sabuyleasing เพราะทุกความสบายใจเป็นไปได้ ที่ สบาย ลีสซิ่ง