หลายคนคงได้ยินเรื่องนี้กันมาหลายปีแล้ว ว่าฝุ่น PM 2.5 มีอันตราย เพราะปริมาณที่ฟุ้งกระจายมหาศาลและขนาดที่เล็กมากๆ ของมัน แล้วเราจะป้องกันตัวเองอย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศเช่นนี้ในประเทศไทย ที่มีตัวการสำคัญอย่างฝุ่น PM 2.5 ที่เป็นภัยเงียบคุกคามสุขภาพ และรู้หรือไม่ว่าการหมั่นดูแลรักษารถยนต์ให้มีสภาพดี ก็เป็นหนึ่งในวิธีบรรเทาปัญหานี้ได้ อีกทั้งยังช่วยให้การขอสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ได้วงเงินดีด้วย
อย่างไรก็ดี บทความนี้เป็นการให้ข้อมูลและคำแนะนำพื้นฐาน ไม่ใช่บทความทางการแพทย์
ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร ทำไมต้องมีเลข 2.5?
สาเหตุของฝุ่น PM 2.5 มีอะไรบ้าง?
- การเผาไหม้ เช่น การเผาป่าเพื่อเตรียมพื้นที่หาของป่า เผาขยะ การเผาในภาคเกษตรกรรมที่มักพบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน และการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากยานพาหนะ
โดยเฉพาะเครื่องยนต์รุ่นเก่าที่ยังไม่มีการติดตั้งท่อแคตตาไลติก (อุปกรณ์นี้ใช้ความร้อนและกระบวนการทางเคมีเปลี่ยนสารพิษจากการเผาไหม้ให้มีพิษน้อยลงก่อนปล่อยออกจากท่อไอเสีย) การถอดท่อแคตตาไลติกออก หรือการดัดแปลงเครื่องยนต์ก็ทำให้มีโอกาสปล่อยควันเสียออกมามากกว่าด้วยเช่นเดียวกัน
การดูแลรักษารถยนต์ตามกำหนด เปลี่ยนถ่ายของเหลวตามระยะเวลา ล้วนเป็นวิธีที่ทำเครื่องยนต์มีสมรรถนะพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ลดการสึกหรอ ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ปกติเต็มประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- กิจกรรมทางอุตสาหกรรม การปล่อยมลพิษทางอากาศของโรงงานอุตสาหกรรม จากปล่องระบายควัน ระบายไอเสีย
- การก่อสร้าง ฝุ่นละอองจากการก่อสร้างถนนและอาคาร การตัดถนนในบางจุดกินระยะเวลานาน ทำให้ผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้นได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศยาวนานต่อเนื่อง
- การเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจำพวกฟอสซิล ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
ฝุ่น PM 2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง?
- ระบบทางเดินหายใจ เกิดอาการไอหนัก หายใจติดขัด หอบหืด หากรุนแรงมากสามารถนำไปสู่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ระบบประสาท อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และความจำ ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการของเด็กเล็ก และความจำในผู้สูงอายุ
- มะเร็ง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด เพราะเนื้อเยื่อปอดเกิดการระคายเคืองติดต่อกันเป็นเวลานาน
วิธีการป้องกันตัวเองจากฝุ่น PM 2.5
แม้เราจะไม่สามารถควบคุมปริมาณฝุ่นพิษนี้ในอากาศได้ทั้งหมด แต่ก็สามารถป้องกันตัวเองและลดผลกระทบได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ตรวจสอบคุณภาพอากาศ ก่อนออกจากบ้านควรตรวจสอบค่าฝุ่นในพื้นที่ที่เราจะไป วิธีที่สะดวกที่สุดคือ แอปตรวจสภาพอากาศที่มีให้เลือกดาวน์โหลดทั้งของไทยและต่างประเทศ
- สวมหน้ากาก สวมหน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่น PM 2.5 เช่น N95 หรือหน้ากากที่ได้มาตรฐาน ไม่ควรซักแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ ควรเปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง ในวันที่ค่าฝุ่นสูง ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง เพราะเมื่อเหนื่อยหอบ จะหายใจถี่และแรงขึ้น ทำให้ได้รับปริมาณฝุ่นมากกว่าการหายใจปกติ ให้ออกกำลังกายในบ้านหรือในอาคารแทน
- ปิดประตูหน้าต่าง เมื่ออยู่ในบ้านหรืออาคาร ควรปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด
- ใช้เครื่องฟอกอากาศ การใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในบ้านได้ เลือกไส้กรองให้เหมาะสม และเปลี่ยนไส้กรองเมื่อถึงกำหนด ไม่ควรนำไส้กรองกลับมาใช้ซ้ำ
- ปลูกต้นไม้ มีต้นไม้บางชนิดช่วยดูดซับฝุ่นละอองและก๊าซพิษ ช่วยให้คุณภาพอากาศดีขึ้น สามารถเลือกปลูกให้เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ภายในบ้านได้