คำแนะนำเตรียมบ้านให้พร้อม รับมือลมแรงและพายุ ก่อนเกิดความเสียหาย

คำแนะนำเตรียมบ้านให้พร้อม รับมือลมแรงและพายุ ก่อนเกิดความเสียหาย

ประเทศไทยมีโอกาสเจอลมแรงและพายุหลายลูกได้ตลอดทั้งปี ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวบ้านและอาคาร ทั้งหลังคาปลิว ฝ้าเพดานหลุด หรือต้นไม้หักโค่น ดังนั้น การเตรียมบ้านให้พร้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพย์สิน และสภาพของสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน ก็มีผลต่อวงเงินสินเชื่อโฉนดที่ดินด้วยเหมือนกัน

วิธีเตรียมบ้านให้พร้อมรับมือกับลมแรง 

    1. ตรวจสอบสภาพหลังคา
      • ซ่อมแซมรอยรั่ว
      ตรวจสอบและซ่อมแซมรอยรั่วบริเวณหลังคาให้เรียบร้อย
      • ยึดตะปูและแผ่นหลังคา ตรวจสอบสภาพภายนอก ความแน่นหนาของตะปู และแผ่นหลังคาให้มั่นคง
      • ตัดแต่งกิ่งไม้ใกล้หลังคา ตัดกิ่งไม้ที่ยื่นยาวใกล้หลังคาออก เพื่อป้องกันกิ่งไม้ปลิวมาขณะลมพัด ขูดหลังคาจนทำให้เกิดความเสียหาย
      • ติดตั้งสายล่อฟ้า หากบ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อฟ้าผ่า ได้แก่ บ้านและอาคารเดี่ยวๆ กลางแจ้ง หรืออยู่ติดกับต้นไม้ลำต้นสูง พื้นที่ติดชายน้ำ เป็นต้น ควรติดตั้งสายล่อฟ้าเพื่อป้องกันความเสียหายจากฟ้าผ่า
    2. ตรวจสอบหน้าต่างและประตู
      • ตรวจสอบสลักและลูกบิด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสลักและลูกบิดประตูและหน้าต่างหน้าต่างมีความแข็งแรง ไม่ชำรุด
      • ปิดประตูและหน้าต่างให้สนิท เมื่อเกิดลมแรง ควรปิดหน้าต่างและประตูให้สนิททุกบาน เพื่อไม่ให้ลมพัดทรัพย์สินภายในจนเกิดความเสียหาย

      แนะนำให้เจ้าของบ้านและอาคารตรวจหมั่นตรวจสอบสภาพภายนอกเป็นประจำ หากพบจุดที่เสียงต่อการเกิดอันตรายในอนาคต หรือจุดที่ชำรุดในระยะเริ่มต้น จะสามารถแก้ไขซ่อมแซมได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่ความเสียหายจะลุกลามจนแก้ไขได้ยากและใช้เวลานาน มีบ่อยครั้งที่ลมแรง ลมพายุมาพร้อมกับฝนตกหนัก สามารถอ่าน วิธีการเตรียมบ้านให้พร้อมรับมือกับฝน หากต้องการให้บ้านและอาคารมีความพร้อมที่สุด เพื่อให้การขอสินเชื่อโฉนดที่ดินเป็นไปได้อย่างราบรื่น

    3. เก็บของที่อยู่ภายนอก
      • เก็บเฟอร์นิเจอร์ เก็บเฟอร์นิเจอร์หรือของใช้ที่อยู่ภายนอกบ้าน หรือริมระเบียงเข้ามาในที่ร่ม
      • มัดหรือยึดสิ่งของ หากเฟอร์นิเจอร์มีขนาดใหญ่หรือไม่สะดวกขนย้าย ให้มัดด้วยเชือก หรือยึดสิ่งของที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น ถังน้ำ ถังขยะ โต๊ะเก้าอี้สนาม
    4. ตรวจสอบระบบไฟฟ้า
      • ตัดกระแสไฟฟ้า หากมีพายุฝนฟ้าคะนองพร้อมกับลมแรง ควรตัดกระแสไฟฟ้าหลักเพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต
      • ตรวจสอบสายไฟ ตรวจสอบสายไฟภายนอกบ้านให้เรียบร้อย 
    5. เตรียมชุดปฐมพยาบาลและอาหารสำรอง
      • เตรียมชุดปฐมพยาบาล เตรียมชุดปฐมพยาบาลไว้เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
      • เตรียมอาหารสำรอง เตรียมอาหารสำรองและน้ำดื่มไว้ใช้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ
    6. ติดตามข่าวสาร
      • ฟังข่าวพยากรณ์อากาศ ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด จากหลายช่องทาง เช่น เว็บไซต์เตือนภัยพิบัติ เสียงตามสายภายในชุมชน หรือกลุ่มไลน์
      • เตรียมแผนอพยพ หากสถานการณ์รุนแรง ควรเตรียมแผนอพยพไว้ล่วงหน้า

สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดลมแรง

  • หลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน หากเกิดลมแรง ควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน เพราะอาจได้รับอันตรายจากของที่ปลิวมากับลม และทัศนวิสัยที่ไม่ดีขณะเกิดลมแรงก็นำไปสู่อุบัติเหตุทางท้องถนนได้

  • หาที่หลบภัย หาที่หลบภัยที่แข็งแรง เช่น ห้องน้ำ ใต้โต๊ะ หรือห้องที่แข็งแรงที่สุดภายในบ้านหรืออาคาร

  • ติดต่อขอความช่วยเหลือ หากเกิดความเสียหายร้ายแรง ควรติดต่อขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ สายด่วน 1784 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย

การเตรียมความพร้อมล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญในการรับมือกับลมแรงและพายุ การปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้จะช่วยลดความเสียหายและรักษาความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สิน สิ่งปลูกสร้างที่มั่นคงแข็งแรง สภาพดีไม่ผุพัง ช่วยให้การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อราบรื่นขึ้น มีหากสนใจสินเชื่อโฉนดที่ดิน สามารถเข้ามาปรึกษากับ สบาย ลีสซิ่ง ทุกสาขา สอบถามที่โทร 055-000-600 หรือติดต่อทาง LINE Official @sabuyleasing เพราะทุกความสบายใจเป็นไปได้ ที่ สบาย ลีสซ